ฟังเพลงสบายๆ

ฟังเพลงสบายๆ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โครงการก่อสร้าง มรภ.อุดรธานี ศูนย์ สามพร้าว

06เปิดศักราชใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  สามพร้าว  
มุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาของชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
                    07
เป็นเวลากว่า 5 ปี ในการพัฒนาผืนแผ่นดินบริเวณโคกขุมปูน หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี  ตามโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี   พื้นที่ 2,090 ไร่แห่งนี้  กำลังได้รับการพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาของชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
08
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ (พ.ศ.2552)  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนกลุ่มเทคโนโลยี 6 หลัง แล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมบ้านพักอาจารย์ และได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์ และกลุ่มอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3 หลัง  พร้อมหอพักนักศึกษาชาย- หญิง รวม 2 หลัง
09
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีต ภายในมหาวิทยาลัย ระบบน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และปรับปรุงภูมิทัศน์ ไว้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร
11



14 ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่า มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่ เพื่อเตรียมรองรับความต้องการของนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี จังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งภาพรวมของการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการการเรียนการสอนแก่นักศึกษาได้ เมื่อปีการศึกษา 2553 ที่ผ่านมา


18ปีการศึกษา 2553 ได้เปิดให้บริการ
โดยนำนักศึกษาใหม่ไปทำการเรียนการสอนเป็นรุ่นแรก
17ความก้าวหน้าในการพัฒนาพื้นที่ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี โดยนายอำนาจ  ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีในขณะนั้น ได้ช่วยผลักดันโครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ไปยังพื้นที่ศูนย์การศึกษา  โดยมอบหมายให้สำนักงานทางหลวงชนบท  จ.อุดรธานี  รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนลาดยาง เชื่อมเส้นทางจราจรจากถนนสายอุดรธานี อ.หนองหาน ไปยังศูนย์การศึกษาสามพร้าว จำนวน 3 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 บ้านหนองแก บ้านสามพร้าว   เส้นทางที่ 2  บ้านนิคมหนองตาล บ้านว่าน  และเส้นทางที่ 3 บ้านป่าก้าว บ้านดอนกลอย   รวมทั้งการดำเนินการรังวัดเขตถนนสี่ช่องจราจร จากถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี ไปยังศูนย์การศึกษาสามพร้าว  ระยะทางประมาณ  17 กิโลเมตร  ซึ่งแขวงการทางอุดรธานี  สำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี  และอำเภอเมืองอุดรธานี  ได้เข้ามาช่วยเหลือ ในการดำเนินงาน   ส่วนถนนภายในศูนย์การศึกษา  ได้รับความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี  โดยนายหาญชัย ทีฆธนานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี  ช่วยผลักดันโครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา
19

18


นอกจากนี้ การประปาเขต 7  การประปาภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี ได้วางโครงการขยายเขตประปา  และระบบไฟฟ้าแรงสูงจากหมู่บ้านสามพร้าว  ไปยังพื้นที่ศูนย์การศึกษา   และยังได้รับความอนุเคราะห์จากกรมบรรเทาและป้องกัน         สาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย  ดำเนินการขุดสระน้ำ ซึ่งจากความร่วมมือดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญของการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

27

ในปีการศึกษา 2553  ได้เปิดให้บริการโดยนำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บางสาขาวิชา  กว่า  1,000 คน ไปทำการเรียนการสอนเป็นรุ่นแรก  ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่นักศึกษา อาทิ หอพักเพื่อการเรียนรู้และเพื่อความปลอดภัย สำหรับนักศึกษาทั้งชายและหญิง  ร้านสะดวกซื้อ  ห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  และกำลังดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้มีความพร้อม  เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมรองรับนักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป


ปีการศึกษา 2554  เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ และเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมขับเคลื่อน สู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ในปีการศึกษา 2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สามพร้าว ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยนำนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์ฯ  ไปทำการเรียนการสอน และอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัย จำนวนกว่า 2,700 คน  และเปิดภาคเรียนปีการศึกษาใหม่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554  ที่ผ่านมา

22

23

ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาใหม่แล้วเสร็จ เพิ่มอีก 2 หลัง เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ อีกทั้งยังได้จัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา  อาทิ ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต  ห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  โรงอาหาร  ร้านสะดวกซื้อ ตู้ซักผ้าอัตโนมัติ   โทรศัพท์สาธารณะ  ตู้เอทีเอ็ม  ตู้เติมน้ำมันเชื้อเพลิง  ตู้เติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่  และศูนย์ถ่ายเอกสาร  เป็นต้น

21
31ขณะที่การดำเนินการพัฒนาพื้นที่ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ (หอสมุด) เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาและประชาชน   นอกจากนี้ ยังเตรียมดำเนินการก่อสร้างสนามกีฬาครบวงจร sport complex  เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  และหอประชุมอเนกประสงค์  สำหรับงานพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร และให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่

30
 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  สามพร้าว  พร้อมแล้วที่จะรับใช้สังคมในการเป็นสถาบันการศึกษาแห่งใหม่ ที่กระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบอุดมศึกษาเต็มรูปแบบสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง  เป็นที่พึ่งของสังคมในการสร้างองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่  และให้บริการทางวิชาการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาของชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
32

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น