ตราประจำจังหวัดอุดรธานี
เป็นรูปท้าวเวสสุวันหรือท้าวกุเวร หมายถึงเทพยดาผู้คุ้มครองรักษาประจำทิศอุดร
ยืนถือกระบองเฝ้ารักษาเมือง
กรมศิลปากร ออกแบบตั้งแต่ พ.ศ.2483
----------------------------------------------------------------------
คำขวัญประจำจังหวัด
“น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ
อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์
เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์”
----------------------------
ต้นไม้ประจำจังหวัด
"ดอกทองกวาว" หรือดอกจาน ตามภาษาอีสาน เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีแสดสวยงามมาก จะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งมีความหมายหลายประการ คือพระนามเดิมของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ผู้สร้างเมืองอุดรธานีนั้น มีพระนามว่า "พระองค์เจ้าทองกอง ก้อนใหญ่" ต้นราชกุล "ทองใหญ่" และเป็นเวลาที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เคลื่อนทัพจากริมฝั่งโขงมาตั้งบ้านเมืองที่ บ้านหมากแข้ง หรือเมืองอุดรธานีในปัจจุบัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub.
วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE(พืชตระกูลถั่ว)
ชื่อสามัญอื่นๆในภาษาไทย ทองกวาว กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น
ชื่อสามัญในภาษาอักกฤษ Flame of the forest, Bastard Teak
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 -15 เมตร เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอนส่วนใหญ่ ทรงกระบอกหรือทรงกลม โดยถ้าอยู่ในที่ลมแรงกิ่งและต้นจะคดงอ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาแตกและเป็นตะปุ่มตะปุ่ม
ถิ่นกำเนิด อยู่ในอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกจานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Butea monosperma. ซึ่งไม้ในจีนัส Butea ที่รู้จักกันดีอีกต้นหนึ่งก็คือทองหลางซึ่งมีดอกสีแดงจัดเหมือนกัน (และผมคิดว่าหลายคนคงเคยกินใบทองหลางที่ใช้ห่อเมื่ยงคำคู่กับใบชะพลู) ใบของต้นดอกจานเป็นใบประกอบสามใบ โดยใบย่อยมีขนาดใหญ่กว่าใบทองหลาง ใบย่อยกลางรูปร่างค่อนไปทางกลม ส่วนอีกสองใบด้านข้างค่อนไปทางวงรี บางใบมีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือของผู้ใหญ่ที่มือใหญ่ๆ อีก เคยได้ยินมาว่าบางท้องที่นำเอาใบดอกจานมาห่อขนมพวกขนมสอดไส้ ขนมกล้วย ขนมมันในยามใบตองขาดแคลน ไม้ในจีนัส Butea นี้บางครั้งปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่ง ซึ่งครั่งก็นำมาใช้ในการทำครั่งสำหรับผนึกตรา และเชลแลกซ์ย้อมไม้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น