ฟังเพลงสบายๆ

ฟังเพลงสบายๆ

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผู้บ่าวไทบ้าน

เจออะไรขำๆมาให้ดูกันครับ
อีสานเราเนียทำไรก็สนุกไปหมดชอบมาก


มีอีกเวอร์ชั้นดูเเล้วนั้งขำมาก



หล่อใด้ใครวะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบอีสาน สินค้าเริ่มขาดแคลนหลังน้ำท่วม

สินค้าอุปโภคบริโภคร้านค้าส่งที่อุดรธานีหลายรายการเริ่มขาดแคลน 
หลังกระทบปัญหาน้ำท่วมภาคกลางและบริษัทผู้ผลิต ทำให้ร้านค้าส่งต้องจำกัดจำนวนขายให้ร้านค้าปลีก

เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.54) ผมได้มีโอกาสไปซื้อสินค้าที่ห้างค้าปลีก เทสโก้โลตัส สาขายูดีทาวน์ อุดรธานี ภาพที่ปรากฎคือ สินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะสินค้าที่ได้รับความต้องการในสภาวะน้ำท่วม รวมทั้งสินค้าหลายรายการจากผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบ "หายไปจากชั้นวางเป็นจำนวนมาก .." ซึ้งนี่เองอาจเป็นผลกระทบทางอ้อม ที่กำลังจะส่งผลกระทบกับชาวอุดรธานี และชาวชาวจังหวัด ซึ่งจะทำให้สินค้าหลายประเภทในท้องตลาดเกิดการขาดแคลน


วิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบให้สินค้าอุปโภค-บริโภค หลายรายการเริ่มขาดตลาด โดยจากการสำรวจในห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และตลาดสด พบว่าสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวันหลายรายการเริ่มขาดแคลนหรือการจัดส่งเป็นไปอย่างล่าช้าอันเป็นผลมาจากปัญหาน้ำท่วมขังงโรงงานผลิต และท่วมทางคมนาคม ประกอบกับประชาชนที่ยังหวาดวิตกกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อฐานการผลิตสินค้าที่จำเป็นทำให้มีการซื้อสินค้ากักตุน โดยเฉพาะข้าวสาร น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส อาหารกระป๋อง เป็นต้น
จากการสำรวจราคาผักในตลาดตลาดสด อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งค้าปลีกผักที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุดรธานี ที่รับผักมาจากตลาดเมืองทอง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ราคาผักทุกชนิดมีราคาส่งจากแม่ค้าที่ขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าปลีกและลูกค้าทั่วไป เพิ่มขึ้น 1-2 เท่าตัวจากราคาปกติ
ขณะนี้ผู้บริโภคเริ่มวิตกทั้งภัยธรรมชาติ และปัญหาที่ตามมา เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยประสบปัญหาวิกฤติร้ายแรงเช่นนี้มาก่อน โดยเฉพาะกรณีน้ำท่วมเขตพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญของประเทศ และเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ประชาชนหวั่นเกรงว่าจะเกิดวิกฤติขาดแคลนสินค้าอุปโภค-บริโภค จึงทำให้มีการแห่ซื้อกักตุน รวมถึงชาวพม่าพบว่ามีความหวาดวิตกเช่นกัน โดยขณะนี้เริ่มมีออเดอร์สินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นมากขึ้น

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อิทธิพล'นกเตน' ฝนตกหนักอุดรฯ

ฝนก็ตกน้ำก็ท่วมไกล้จะ 2012 เเล้วค๊าบบบบพี่น้อง 
พายุ "นกเตน" เคลื่อนตัวเข้าภาคอีสานตอนบน ทำให้เกิดฝนถล่มเทศบาลนครอุดรฯ จนระดับน้ำท่วมสูง ถนนหลายสายรถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ เจ้าหน้าที่เร่งระบายน้ำ พร้อมนำกระสอบทรายแจกจ่ายชาวบ้าน


เข้าวัดเข้าวากันบ้าง


วัดโพธิสมภรณ์
วันออกพรรษานี้อยากชวนทุกคนในบอร์ดมาทำบุญที่วัดโพธิสมภรณ์กัน ^ ^ นั้งหมกอยู่ในห้องตั้งนานออกมาเทียวหนองประจักเราก็เเวะกันเลย

วัดโพธิสมภรณ์
ตั้งอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะหนองจักษ์ เขตเทศบาลนครอุดรธานีเป็นวัดหลวงสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฏรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริรัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า วัดโพธิสมภรณ์ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร
พระบรมธาตุเจดีย์

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทียวอุดรตะลอนทัวร์ เมือง

ใครอยากมาเทียวอุดรผมจะพาไปเเนะนำที่สวยๆกันคับ รับรองความสนุกเเละภาพที่ทำให้ประทับใจ ^ ^


อันดับเเลกเลยอยากให้ไปชมศาลหลักเมืองอุดรกันครับรับชมด้วยภาพ
น่าจะเข้าใจมากกว่าให้ผมสาธยายเนอะ  ^ ^





อัพเดทข่าวสารจาก เฟสบุ๊ค  UDONTODAY 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คราวนี้เรามาเดินทอดน่องเย็นๆที่หน่องประจักษ์กันคับ หาความสุขเล็กๆใด้ที่นี้ใด้เลยทีเดียวเพราะบรรยากาศที่ทำให้เราสดใสหลังจากทำงานเหนือยๆก็คงจะเป็นหญ้าเขียวๆเดินกับแฟนที่หนองประจักษ์กัน

















ของแปลกเมืองอุดร



สวัสดี ที่นี่ อุดร (ที่นี่ที่เดียว)

หอนาฬิกาอัจฉริยะ ... ต้อง บวก ลบ คุณ หาร เวลาเอาเองนะ ... อิอิ

(ณ วงเวียนหอนาฬิกา นครอุดรธานี)
-------------------------------------------------------------------------------
เอาสาขาของร้าน 7-11 ในอุดรธานีมาฝากกันด้วยนะคับ














หลายท่านอาจเคยเห็นคุณป้าท่านนี้ ... เปรี้ยวจี๊ด ...


ป้าแกมีการปรับกลยุทธ์ทางการขาย ได้ดีเยี่ยม เลยทีเดียว

แถว ๆ ซอยกำนัล (ซอยหนองบัว) น่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี .. อิอิ





อุดรยิ้มสยาม

ใจลอยไปถนนคนเดิน


พบกัน "ทุกวันเสาร์" กับกิจกรรมที่สร้างสรรค์...ถนนคนเดิน Udoncity Walking Street ซึ่งจะมีการจำหน่ายสินค้าไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม งานทำมือ งานศิลปะ สินค้าหายาก และสินค้าภูมิปัญยาท้องถิ่น ในส่วนของลานกิจกรรมมีมีการส่งเสริมกลุ่มนักเรียน นักศึกษาให้แสดงความสามารถทางดนตรี โดยเป็นการเปิดหมวกบรรเลงเพลงกันอีกด้วย ติดตามภาพกิจกรรมดีดี






อันนี้น้องชายอยากใด้มากไปจ่องยุตั้งนาน


Central Plaza Udonthani


CPN ยึดหัวเมือง"เหนือ-อีสาน"

ทุ่ม1.7หมื่นล้าน เปิดห้างอุดรธานี-เชียงใหม่

CPN ตั้งงบลงทุนช่วงปี 52-53 ประมาณ 17,000 ล้านบาท ขยายห้างใหม่ที่ อุดรธานี ให้เป็น Lifestyle Hub และ Gateway ของอินโดจีน พร้อมเปิดตัวโครงการที่ 2 ของเชียงใหม่ รวมถึงการปรับปรุงที่ลาดพร้าวและปิ่นเกล้า ด้านการลงทุนต่างประเทศปี 53 น่าจะได้ข้อสรุปในจีน ส่วนหุ้นกู้ 1,200 ล้านบาท เสนอขายภายในสัปดาห์นี้

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า แม้ในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย แต่ผู้บริโภคยังมีกำลังซื้อ บริษัทจึงได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทตั้งงบลงทุนในปี 52-53 ไว้ประมาณ 17,000 ล้านบาท ในการขยายศูนย์การค้าใหม่สำหรับโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี

โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น และโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ รวมถึงการปรับภาพลักษณ์ของศูนย์การค้าเดิมคือศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

"แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่บริษัทก็ยังมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคยังมีกำลังซื้อ เพียงแต่บริษัทจะต้องพยายามให้มีการจับจ่ายใช้สอย โดยการดึงเอาประสบการณ์ต่างๆ มาดึงให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจ ประกอบกับเศรษฐกิจก็ไม่ได้ตกต่ำตลอดไป

และมองว่าได้เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยจากการสำรวจลูกค้าทั้งในร้านหนังสือ หรือร้านอาหาร

เริ่มมียอดขายกลับมา ซึ่งในเดือนมิ.ย.ก็มียอดขายดีขึ้น เพราะเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ส่วนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 สามารถรักษาได้ จึงไม่มีความกังวล" นายกอบชัย กล่าว
 
ทั้งนี้ โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี บริษัทได้เตรียมงบลงทุนไว้ประมาณ 5,300 ล้านบาท ทั้งในการซื้อกิจการ ที่มีศูนย์การค้า โรงแรม และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ รวมถึงการปรับปรุงศูนย์การค้าในเฟสแรก เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานของ CPN ประมาณ 150 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีนี้ช่วงไตรมาส 4/52 และขยายในเฟส 2 เพื่อให้โครงการเพิ่มเป็น 2 เท่า ประมาณ 2,500 ล้านบาท ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ และเข้าดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 54 เพื่อจะได้รองรับลูกค้าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และเวียดนาม เป็นต้น

"โครงการที่อุดรฯ ถือเป็นโครงการที่ไม่ได้เน้นลูกค้าในประเทศอย่างเดียว เพราะอุดรฯ ห่างจากเวียงจันทร์ 70 กิโลเมตร จึงมีลูกค้าจากเวียงจันทร์เดินทางผ่านเป็นจำนวนมาก และในปลายปี 52 จะมีกีฬาซีเกมส์ก็เชื่อว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น และมองว่าสาขาที่อุดรฯ จะเป็น Gateway ของอินโดจีน"

โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ถ.ประจักษ์ศิลปาคม ติดกับสถานี บขส. และสถานีรถไฟ มีพื้นที่ 53 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่โครงการ 100,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยศูนย์การค้าในรูปแบบคอมเพล็กซ์ครบวงจร 6 ชั้น โรงแรมระดับ 4 ดาว ขนาด 255 ห้อง และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ 3,000 ตารางเมตร ซึ่งปัจจุบันโรงแรมมีอัตรการเข้าพักมากกว่า 80%

โดย CPN ตั้งใจจะให้โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เป็น Lifestyle Hub ของภาคอีสานตอนเหนือและ Gateway ของอินโดจีน เนื่องจากที่อุดรธานีเป็นศูนย์การค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคอีสาน รวมถึงเป็นจุดรวมของธุรกิจ การศึกษา ศูนย์ราชการ และการท่องเที่ยว โดยมีจำนวนผู้พักอาศัยสูงสุดในประเทศประมาณ 1.6

ล้านคน ซึ่งมีกำลังซื้อสูง

นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง CPN กล่าวว่า บริษัทจะมีการปรับขนาดและภาพลักษณ์ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ให้เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์การค้า ที่มีขนาด 200,000 ตารางเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่การค้ามากกว่า 100,000 ตารางเมตร โดยการปรับปรุงในเฟสแรกจะแล้วเสร็จในปีนี้

ขณะเดียวกัน จ.อุดรธานี จัดเป็นเมืองใหญ่ในภาคอีสานที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังนครเวียงจันทร์ของลาว ที่มีประชากร 700,000 คน จึงมีกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงและนิยมมาจับจ่ายใช้สอยที่อุดรธานี โดยรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนก็สูงสุดในภาคอีสาน จากปัจจุบันที่มีประชากรในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงกว่า 3 ล้านคน

มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2 ล้านคนต่อปี ประกอบกับอุดรธานีมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว จึงมีศักยภาพในการขยายตัวได้ดี

นายกอบชัย กล่าวว่า สำหรับโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัส เชียงใหม่ บริษัทตั้งงบลงทุนไว้ประมาณ 5,000 ล้านบาท เนื่องจากเชียงใหม่มีศักยภาพเป็นเมืองท่องเที่ยวใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรุงเทพฯ และเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือในทุกด้าน จึงสามารถที่จะเปิดสาขาที่ 2 ได้ โดยจะเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 4/54
"หลังจากได้เปิดห้างเซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต ทำให้เห็นศักยภาพและกำลังซื้อของคนในพื้นที่ จึงได้ตัดสินใจเปิดศูนย์ค้าใหม่อีกแห่งที่อยู่คนละมุมเมือง ในโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัส เชียงใหม่ เป็นสาขาที่ 2 ตั้งอยู่สี่แยกของถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ทางตอนบนของเชียงใหม่ และถ.สายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด โดยมีลักษณะคล้ายกับที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช คือ เป็นศูนย์การค้าสไตล์รีสอร์ท ที่มีดีไซน์สวยงามระดับโลก ซึ่งจะเป็นโครงการแรกของ CPN ที่จะทำศูนย์การค้าที่มีโซน Indoor 70% และ Outdoor 30% อยู่ในศูนย์การค้าเดียวกัน บนพื้นที่ 70 ไร่ มีพื้นที่การก่อสร้างทั้งหมดกว่า 250,000 ตารางเมตร และพื้นที่การค้าประมาณ 130,000 ตารางเมตร"
 
สำหรับการปรับปรุงสาขาเดิม 2 แห่ง คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และปิ่นเกล้า ได้เตรียมงบไว้กว่า 3,000 ล้านบาท เนื่องจากที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ได้มีการต่อสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และไม่ได้มีการปรับปรุงมากกว่า 10 ปี จึงจะมีการปรับโฉมทั้งรูปลักษณ์ และบรรยากาศให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งจะมีการทยอยปรับปรุงที่ละส่วน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 54 ส่วนที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ได้เปิดให้บริการมากว่า 15 ปี จะเริ่มปรับปรุงในช่วงเดือนพ.ย.52 และน่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4/53

ขณะที่แนวโน้มในไตรมาส 2/52 บริษัทก็จะมีการรับรู้รายได้จากศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา บีช ที่จ.ชลบุรี เพิ่มเข้ามา น่าจะส่งผลให้ยอดขายเติบโตอย่างน้อยประมาณ

20% ซึ่งไม่น้อยกว่าปีก่อน ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว จากงบที่ออกมาประมาณ 800,000 ล้านบาท และที่รัฐบาลจะมีการใช้งบประมาณใหม่ตั้งแต่เดือน ต.ค. ที่จะเริ่มทยอยออกมาใช้จ่ายในช่วงเดือนต.ค.-ธ.ค. ก็จะส่งผลให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวในไตรมาส 4 นี้

ด้านการลงทุนในต่างประเทศคงจะยังไม่มีข้อสรุปในปีนี้ แต่ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปลงทุนคือที่จีน เพราะมีศักยภาพ และความชัดเจนมากที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา คาดว่าในปีหน้าคงจะได้ข้อสรุป ส่วนที่เวียดนามและอินโดนีเซีย ก็ยังน่าสนใจและเป็นเป้าหมายในการลงทุน

 Central plaza อุดรธานี เมื่อก่อน 
 




วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โครงการก่อสร้าง มรภ.อุดรธานี ศูนย์ สามพร้าว

06เปิดศักราชใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  สามพร้าว  
มุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาของชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
                    07
เป็นเวลากว่า 5 ปี ในการพัฒนาผืนแผ่นดินบริเวณโคกขุมปูน หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี  ตามโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี   พื้นที่ 2,090 ไร่แห่งนี้  กำลังได้รับการพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาของชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
08
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ (พ.ศ.2552)  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนกลุ่มเทคโนโลยี 6 หลัง แล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมบ้านพักอาจารย์ และได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์ และกลุ่มอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3 หลัง  พร้อมหอพักนักศึกษาชาย- หญิง รวม 2 หลัง
09
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีต ภายในมหาวิทยาลัย ระบบน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และปรับปรุงภูมิทัศน์ ไว้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร
11



14 ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่า มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่ เพื่อเตรียมรองรับความต้องการของนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี จังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งภาพรวมของการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการการเรียนการสอนแก่นักศึกษาได้ เมื่อปีการศึกษา 2553 ที่ผ่านมา


18ปีการศึกษา 2553 ได้เปิดให้บริการ
โดยนำนักศึกษาใหม่ไปทำการเรียนการสอนเป็นรุ่นแรก
17ความก้าวหน้าในการพัฒนาพื้นที่ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี โดยนายอำนาจ  ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีในขณะนั้น ได้ช่วยผลักดันโครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ไปยังพื้นที่ศูนย์การศึกษา  โดยมอบหมายให้สำนักงานทางหลวงชนบท  จ.อุดรธานี  รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนลาดยาง เชื่อมเส้นทางจราจรจากถนนสายอุดรธานี อ.หนองหาน ไปยังศูนย์การศึกษาสามพร้าว จำนวน 3 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 บ้านหนองแก บ้านสามพร้าว   เส้นทางที่ 2  บ้านนิคมหนองตาล บ้านว่าน  และเส้นทางที่ 3 บ้านป่าก้าว บ้านดอนกลอย   รวมทั้งการดำเนินการรังวัดเขตถนนสี่ช่องจราจร จากถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี ไปยังศูนย์การศึกษาสามพร้าว  ระยะทางประมาณ  17 กิโลเมตร  ซึ่งแขวงการทางอุดรธานี  สำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี  และอำเภอเมืองอุดรธานี  ได้เข้ามาช่วยเหลือ ในการดำเนินงาน   ส่วนถนนภายในศูนย์การศึกษา  ได้รับความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี  โดยนายหาญชัย ทีฆธนานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี  ช่วยผลักดันโครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา
19

18


นอกจากนี้ การประปาเขต 7  การประปาภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี ได้วางโครงการขยายเขตประปา  และระบบไฟฟ้าแรงสูงจากหมู่บ้านสามพร้าว  ไปยังพื้นที่ศูนย์การศึกษา   และยังได้รับความอนุเคราะห์จากกรมบรรเทาและป้องกัน         สาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย  ดำเนินการขุดสระน้ำ ซึ่งจากความร่วมมือดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญของการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

27

ในปีการศึกษา 2553  ได้เปิดให้บริการโดยนำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บางสาขาวิชา  กว่า  1,000 คน ไปทำการเรียนการสอนเป็นรุ่นแรก  ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่นักศึกษา อาทิ หอพักเพื่อการเรียนรู้และเพื่อความปลอดภัย สำหรับนักศึกษาทั้งชายและหญิง  ร้านสะดวกซื้อ  ห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  และกำลังดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้มีความพร้อม  เพื่ออำนวยความสะดวก และเตรียมรองรับนักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป


ปีการศึกษา 2554  เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ และเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมขับเคลื่อน สู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ในปีการศึกษา 2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สามพร้าว ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยนำนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์ฯ  ไปทำการเรียนการสอน และอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัย จำนวนกว่า 2,700 คน  และเปิดภาคเรียนปีการศึกษาใหม่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554  ที่ผ่านมา

22

23

ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาใหม่แล้วเสร็จ เพิ่มอีก 2 หลัง เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ อีกทั้งยังได้จัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา  อาทิ ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต  ห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  โรงอาหาร  ร้านสะดวกซื้อ ตู้ซักผ้าอัตโนมัติ   โทรศัพท์สาธารณะ  ตู้เอทีเอ็ม  ตู้เติมน้ำมันเชื้อเพลิง  ตู้เติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่  และศูนย์ถ่ายเอกสาร  เป็นต้น

21
31ขณะที่การดำเนินการพัฒนาพื้นที่ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ (หอสมุด) เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาและประชาชน   นอกจากนี้ ยังเตรียมดำเนินการก่อสร้างสนามกีฬาครบวงจร sport complex  เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  และหอประชุมอเนกประสงค์  สำหรับงานพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร และให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่

30
 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  สามพร้าว  พร้อมแล้วที่จะรับใช้สังคมในการเป็นสถาบันการศึกษาแห่งใหม่ ที่กระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบอุดมศึกษาเต็มรูปแบบสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง  เป็นที่พึ่งของสังคมในการสร้างองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่  และให้บริการทางวิชาการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาของชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
32